การเลือกซื้อวัตถุดิบ ให้ได้อาหาร ที่สด และปลอดภัย กับตัวคุณ
การเลือกซื้อวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นในตลาดสด หรือห้างสรรพสินค้า ให้ได้ของคุณภาพดี แบบไม่ต้องมานั่งเดา หรือตาดีได้ ตาร้ายเสีย คนที่ทำอาหาร เป็นปกติ ก็อ่านได้ และคนที่ไม่เคย ช็อปปิ้งวัตถุดิบเลย อ่านยิ่งดี ไม่ว่าจะเป็น เนื้อสัตว์ สรุปต้องมีสีแดง ๆ หรือผัก ต้องมีแมลงกัดจริงไหม ? หรืออาหารทะเล ปลาตาใส แล้วยังไงต่อ ? ไปดูกันเลย!!
วิธีการเลือกซื้อ “เนื้อสัตว์” ให้ปลอดภัย
เนื้อสัตว์ วัตถุดิบหลักของอาหาร ในแต่ละจาน เพราะเป็นแหล่ง ของโปรตีน ที่ร่างกายของเรา ควรได้รับทุกวัน! เป็นแหล่งพลังงาน รับประทานง่าย และเพิ่มรสชาติ พร้อมความอิ่มท้อง ให้กับเรา วิธีการดู ก็ไม่ยากเกิน ฝีมือนักซื้อมือใหม่ อย่างแน่นอนค่ะ
เนื้อหมู
- สี ควรเป็นสีอ่อน ไม่เขียวหรือดูคล้ำ หรือเนื้อดูช้ำ ส่วนเนื้อหมูที่ดูแดง สีจัดจนเกินไป ก็น่ากลัว เพราะอาจจะมีส่วนผสม ของสีผสมอาหาร หรือสารเร่งเนื้อได้ ต้องดูกันดี ๆ ก่อนนะ
- ผิวหนัง ขาวใส ดูมันวาว ไม่มีพังผืด และไม่มีขนติดอยู่ (น่าขนลุกอยู่นะ) ที่สำคัญ เวลาบีบหรือกดลงไป ผิวจะต้องเด้งกลับ ดั่งตูดเด็ก ที่มีคอลลาเจน
- กลิ่นก็สำคัญ หมูจะต้องมีกลิ่นคาวอ่อน ๆ ตามประสาหมูดิบ แต่จะต้องไม่มีกลิ่นตุ ๆ เชื่อว่าการดม แม้เป็นคนไม่เคยซื้อ ก็จะต้องดูออกแน่นอน
- การเลือกหมูสามชั้น การดูคล้ายกับ ผิวหนังหมูเลย จะต้องมันวาว ผิวบาง ที่สำคัญต้องมีเนื้อแทรกด้วย ไม่ใช่มีแต่มันอย่างเดียว
- การเลือกหมูบด จะต้องมีมันขาว ๆ แทรกเล็กน้อย สีดูชมพูอมแดง ไม่มีกลิ่นเหม็น หรือกลิ่นตุ ๆ
เนื้อไก่
- สี จะต้องสด และไม่ขาวซีดจนเกินไป หรือมีจ้ำเขียว ๆ อันนี้น่ากลัวเลย
- เนื้อ จะต้องแน่น ดูเรียบไม่เหี่ยวย่น ไม่เหลว เมื่อแตะหรือบีบ เนื้อจะต้องกลับมาลักษณะเดิม เหมือนกับเนื้อหมู ไม่มีจุดที่เป็นหนอง หรือเลือดคั่ง เพราะนั่นอาจหมายถึง ไก่ตายเพราะติดเชื้อได้
- กลิ่น ไม่มีกลิ่นเน่ากลิ่นตุ มีกลิ่นคาว จากความดิบเล็กน้อย
เนื้อวัว
- สี แดงเข้มกว่าเนื้อหมู และเนื้อไก่ ไม่ออกเขียวคล้ำหรือเหลือง สีไขมันจะออกครีมอ่อน ๆ ไม่เหลือง
- ลักษณะเนื้อ ต้องแน่น กดหรือบีบแล้ว เนื้อต้องกลับมาเหมือนเดิม (เหมือนหมูไก่เลย) ถ้าไม่สด จะมีจุดเล็ก ๆ แทรกอยู่ หรือถ้าเป็นเม็ด เหมือนสาคู อาจแปลว่า มีพยาธิตัวตืด!
- อีกอย่างที่ไก่และหมู ไม่สามารถทำได้ คือการวางเนื้อวัว ไว้ในน้ำ หากเป็นเนื้อที่สด จะมีน้ำแดงจาง ๆ ออกมา แต่ถ้าไม่สด จะมีน้ำสีเหลือง ซึมออกมาแทน
การเลือกซื้อวัตถุดิบ “ผักสด” ให้ปลอดภัย
- ผักที่กินส่วนใบ เช่น ผักบุ้ง ควรเลือกต้นที่อวบ ไม่เหี่ยวช้ำหรือดำ มีรอยแมลงแทะได้บ้าง แสดงว่าปลอดภัย เพราะสัตว์กินได้ การเลือกซื้อผักสลัด ที่เป็นใบก็เช่นกัน ผักสลัดควรเก็บ ในที่แห้งและเย็น เพราะเหี่ยวง่ายกว่าผักทั่วไป
- ผักประเภทหัว เช่น แคร์รอต ควรเลือกตามหน้าตาผักเลย ต้องดูดี สีเข้ม เนื้อแน่น ไม่ช้ำไม่เหี่ยว
- ผักประเภทผล ไม่สามารถบอกโดยรวมได้ เพราะผักประเภทนี้ ต้องเลือกตามลักษณะ ของผักนั้น ๆ เลยค่ะ แต่สิ่งที่พอจะดูได้เหมือน ๆ กันคือผิวของผัก ถ้าเหี่ยวย่น ไม่เต่งตึง หรือมีกลิ่นแปลก ๆ แสดงว่าเน่าแล้ว
การจัดซื้อวัตถุดิบอาหาร อย่างผัก นอกจากความสด สะอาด ความปลอดภัยแล้ว การล้างผักก็สำคัญเช่นกันนะคะ ห้ามมองข้ามเลยเด็ดขาด!!
ล้างผัก ยังไงให้ปลอดภัยกันนะ ? ผักมีประโยชน์จริง แต่ต้องล้างก่อน ไม่งั้นอาจจะได้ รับสารเคมีเป็นของแถมนะทุกคน
ก่อนนำผักใบเขียวไปล้าง แนะนำให้แกะออกจากกันก่อน ไม่ว่าจะเป็นใบ หัวหรือลำต้น เวลาที่ล้าง จะได้สะอาดถึงทุกจุด ผู้เขียนขอแนะนำ ด้วยการล้าง 4 แบบนี้ สามารถเลือกได้ ตามที่ห้องครัวของคุณ สะดวกเลยค่ะ
- ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ แช่ 15 นาที ลดสารตกค้างได้ 80 – 95%
- น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ แช่ 10 นาที ลดสารตกค้างได้ 60 – 84%
- ด่างทับทิม 20 – 30 เกล็ด แช่ 10 นาที ลดสารตกค้างได้ 35 – 45%
- เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ แช่ 10 นาที ลดสารตกค้างได้ 27 – 38%
ทั้งนี้จะมีผักบางประเภท ที่ระบุว่า สามารถรับประทานได้ทันที ก็หมดห่วงได้เลย หรือหากยังกังวล จะล้างอีกรอบก็ได้
แถมการเลือกปลา มาอีกหนึ่งอย่าง
- เนื้อปลาจะต้องไม่เละ หรือเปื่อยยุ่ย เมื่อกดลงไปที่ตัว จะต้องไม่บุ๋ม
- ตาใส
- เกล็ดปลามีความเงา ไม่หลุดออกจากตัว ไม่ดูขุ่น
- เหงือกปลาจะต้อง มีสีแดงสด ปากปิดสนิท
- หนังปลา ควรดูชุ่มชื้นตลอดเวลา ดูเป็นเมือก ๆ
- มีกลิ่นคาว ตามประสาปลาดิบ แต่ไม่ออกเหม็น
นอกจาก ความรู้เทคนิคการทำอาหาร & เลือกวัตถุดิบแล้ว เว็บไซต์ Top Sausage ก็ยังมีเทคนิคอื่น ๆ ที่น่าสนใจให้อ่านกัน ไม่ว่าจะเป็น เทคนิคการทำอาหารไทย ตกแต่งจานอาหาร หวาน สูตรการชงเครื่องดื่มง่าย ๆ รวมไปถึง เคล็ดลับอาหารตะวันตก ฯลฯ ให้ได้ติดตามกันค่ะ
เรียบเรียงโดย M.Varin
⇓⇓⇓ เรื่องราวที่น่าสนใจ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ⇓⇓⇓